ปีคริสตศักราช 1812 โดยนักแร่วิทยาชาวเยอรมันชื่อ ฟรีดริช โมส (Friedrich Mohs) ได้แบ่งระดับค่าความแข็งของแร่ธาตุทั้งหมดในโลกออกเป็น 10 ระดับ
โดยการนำแร่แต่ละชนิดมาทำการศึกษาทดสอบความแข็งด้วยการขูดขีดแร่เหล่านี้บน ผิวของกันและกันจนได้บทสรุปกำหนดให้ระดับที่ 10 เป็นระดับที่มีความแข็งมากที่สุด ดังตาราง
ระดับความแข็ง |
แร่และอัญมณี |
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 |
เพชร คอรันดัม (ทับทิม, ไพลิน, บุษราคัม และแซปไฟร์สีต่าง ๆ) โทแพซ, สปิเนล, อะความารีน, มรกต ฯลฯ ควอตซ์ (แอเมทิสต์, ซิทริน, เขี้ยวหนุมาน ฯลฯ) มุกดาหาร, หยกเนไฟรต์, คุนไซต์ ฯลฯ อะพาไทต์, โซดาไลต์, โอปอ, ลาพิสลาซูรี, ไข่นกการเวก ฯลฯ ฟลูออไรต์, วาริสไซต์, โรโดโครไซต์ ฯลฯ แคลไซต์, กัลปังหา, ไข่มุก, อะซูไรต์, มาลาไคต์ ฯลฯ ยิปซัม อำพัน, คริโซคอลลา, งาช้าง ฯลฯ ทัลก์ |
เพชรเป็นวัตถุที่มีความแข็งมากที่สุด อยู่ในระดับที่ 10 โดยมีความแข็งกว่าทับทิม ไพลินที่มีความแข็งระดับที่ 9 ถึง 4 เท่า
หลายคนเข้าใจผิดในเรื่องคุณสมบัติด้านความแข็ง โดยเข้าใจว่าความแข็งหมายถึงความคงทนต่อการกระแทกแตกหัก ซึ่งความแข็งในทางด้านอัญมณีศาสตร์หมายถึง ค่าที่แสดงถึงความทนทานต่อการถูก เสียดสีให้เกิดร่องรอย
ดังนั้นหากนำเพชรไปสัมผัสเสียดสีกับวัตถุทุกชนิดในโลกก็จะเกิดรอยขีดข่วนบน วัตถุทุกชนิด แต่ไม่มีวัตถุใดสามารถทำให้เพชรเกิดเป็นรอยขูดขีดที่ผิวได้ เว้นแต่การนำเพชรมาเสียดสีกันเท่านั้น ที่จะทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนผิวเพชรได้
แม้เพชรจะมีความแข็งสูงสุด แต่เพชรก็เป็นวัตถุที่มีความเปราะแตกหักได้หากได้รับการกระทบกระแทก โดยจุดที่เสี่ยงต่อการแตกบิ่นก็คือตรงปลายของเหลี่ยมที่จรดกันเป็นมุม (A) และมุมแหลมของก้นเพชร (B) และตรงขอบเพชร (C) ที่เจียรบางเกินไป ก็อาจจะแตกบิ่นได้เมื่อนำไปฝังตัวเรือน